คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม

พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

ประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2564

แนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ

กฎ ก.ตร.ว่าด้วยจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2566 และแนวทางปฏิบัติ

 

มาตรฐานทางจริยธรรม 7 ประการ

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 

 

มาตรฐานทางจริยธรรมของตำรวจ (Police Moral Standards)

มาตรฐานทางจริยธรรมของตำรวจ คือ คุณความดีที่เป็นข้อประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจเพื่อให้ ประชาชนศรัทธา เชื่อมั่นและยอมรับ ดังต่อไปนี้

(1) ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(2) ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ

(3) ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ

(4) ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น

(5) ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน

(6) ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ

(7) ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่าง รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและที่พึ่งของผู้ใต้บังคับบัญชา ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี

(8) ข้าราชการตำรวจต้องเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานที่ดี

(9) ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติตามค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด

การละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในข้อประพฤติปฏิบัติที่เป็นข้อห้ามในการรักษาวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดําเนินการทางวินัยไปภายในอํานาจหน้าที่ ในการพิจารณาว่าการละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนั้น เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาจากพฤติกรรมของการฝ่าฝืน อายุ ประวัติและความประพฤติในอดีต สภาพแวดล้อมแห่งกรณี ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน และเหตุอันควรนํามาประกอบการพิจารณา โดยพิจารณาจากแนวทางดังกล่าวเป็นรายไป (กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ (พ.ศ. ๒๕๕๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕ ก ฉบับวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔ หน้า ๑๔ – ๑๗)

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (Office of Police Commision)

 

7 ข้อ ที่ข้าราชการตำรวจพึงปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม

 

ข้อควรกระทำ ข้อไม่ควรกระทำ (Do & Don't)

 

แนวทางการการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ